วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักการใช้ภาษาไทย


หลักการใช้ภาษาไทย

ความหมายของภาษา
          ภาษา เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่ใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ถ้อยคำ กิริยาท่าทาง หรือ สัญญาลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
.ภาษาที่เป็นถ้อยคำ หรือ วัจนภาษา คือภาษาที่ใช้เสียงพูดหรือตัวอักษรเป็นสื่อโดยตกลงกันว่าจะใช้แทนความคิด สิ่งของ การกระทำต่างๆ ที่มนุษย์สามารถรับรู้ และเข้าใจความหมายตรงกัน
๒.ภาษาไม่ใช้ถ้อยคำ หรือ อวัจนภาษา คือภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากเสียงพูดและตัวอักษร ได้แก่ภาษาท่าทาง หรือกิริยาอาการต่างๆโดยไม่ต้องพูดหรือเขียน เช่น โบกมือกำมือชูนิ้ว ส่ายศีรษะ การแสดงสีหน้า รวมถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สื่อความเข้าใจตรงกัน เช่นภาพ เครื่องหมาย สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง สัญญาณแตร สัญญาณมือ ภาษามือ ภาษาใบ้ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาดนตรี
          ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมากเพราะภาษาไม่ใช่เฉพาะเครื่องมือในการสื่อความเข้าใจของคนในสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลในการเรียนรู้ การพัฒนาความคิด การประกอบอาชีพ การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความเชื่อ คติธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และยังเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย
          ตามหลักภาษาศาสตร์ ความหมายของภาษาจะมุ่งเฉพาะเสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกันและรวมถึงภาษาเขียน ซึ่งถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือจากเสียงพูดเท่านั้น ส่วนการสื่อความเข้าใจอื่น ๆ เช่นการแสดงกริยาอาการการใช้เครื่องหมายหรือสัญญาณ การสื่อสารระหว่างสัตว์ แม้กระทั้งเสียงของสัตว์ที่เลียนเสียงพูดของมนุษย์ เช่น เสียงนกแก้ว นกขุนทอง ถึงแม้จะเรียกว่าภาษาก็ไม่จัดเป็นภาษาตามหลักภาษาศาสตร์     เกร็ดความรู้ การสื่อสารไม่ได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นสัตว์ก็มีการสื่อสารเช่นเดียวกัน แต่ไม่เป็นระบบและไม่ได้พัฒนาละเอียดซับซ้อนเหมือนมนุษย์ สัตว์บางจำพวกอาจสื่อความเข้าใจระหว่างกันด้วยการเปล่งเสียงร้อง เสียงขัน เสียงกู่ และแสดงกริยาอาการต่าง ๆ เช่น ผงกหัว กระดิกหาง ตะกุยเท้า ส่งกลิ่น
ธรรมชาติของภาษา
          ภาษาแต่ละภาษาแม้จะมีเสียงของคำและโครงสร้างของประโยคแตกต่างกันไป แต่มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ที่สำคัญมีดังนี้
๑.     การใช้เสียงสื่อความหมาย
เสียงในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
เสียงที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้งอาจจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ การคใช้เสียงในการสื่อความหมายจึงมี ๒ ลักษณะ คือ
          ๑.๑ เสียงที่มีความสำพันธ์กับความหมาย ภาษาแต่ละภาษามีเสียงที่สำพันธ์กับความหมาย ซึ่งเป็นเสียงที่สามารถคาดเดาความหมายได้ มักเป็นเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เลียนเสียงร้อง หรือ เสียงดังที่เกิดจากสิ่ง ๆ นั้น เช่น แมว ตุ๊กแก รถตุ๊กๆ กา
          ๑.๒ เสียงที่ไม่สัมพันธ์กับความหมาย เป็นเสียงที่ไม่สามารถคาดเดาความหมายได้ เช่น บ้าน ในภาษาไทย ตรงกับคำว่า เฮ้าส์ (house) หรือ โฮม (home) ในภาษาอังกฤษ เมซอง (miason) ในภาษาฝรังเศส อุจิ ในภาษาญี่ปุ่น เคห ในภาษาบาลี คำดังกล่าว ในแต่ละภาษาต่างมีความหมายอย่างเดียวกันแต่ออกเสียงต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะใดแสดงความเกี่ยวข้องกัน จึงกล่าวได้ว่าการที่เสียงหรือคำใดมีความหมายอย่างไรเป็นเรื่องของการตกลงกันของคนในสังคมแต่ละกลุ่มที่จะกำหนดขึ้น
          ๒.  ภาษาประกอบกันด้วยหน่วยเล็กซึ่งประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น
          ภาษามีส่วนประกอบเริ่มจากเสียง เสียงประกอบกันเป็นคำ คำประกอบกันเป็นกลุ่มคำหรือประโยค และประโยคประกอบเข้าด้วยกันเป็น ข้อความหรือเรื่องราว ทั้งหมดนี้เรียกว่าหน่วย หน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาเรียกว่าหน่วยเสียง
          เสียงในภาษาส่วนมากมี ๒ ชนิด คือ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ สำหรับภาษาไทยมี ๓ ชนิด คือ มีเสียงวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นมาด้วย หากใช้เสียงที่มีอยู่ในภาษาไทยมาประกอบกันเป็นคำกล่าวคือ เสียงพยัญชนะ ๒๑ หน่วยเสียง สระ ๒๑ หน่วยเสียง และวรรณยุกต์ ๕ เสียง ก็จะได้เป็นคำจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาที่มีความหมายว่า หน่วยคำ
          เราสามารถนำคำมาเรียงต่อกันเป็นข้อความ เป็นประโยค และนำประโยคมาเรียงต่อกันโดยการรวมหรือซ้อนกัน ซึ่งทำให้เกิดประโยคหรือข้อความยาว ๆ โดยไม่สิ้นสุด
ตัวอย่าง
          ฉันพบเพื่อน
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้วไปรับประทานอาหาร
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้วไปรับประทานอาหาร ต่อจากนั้นไปชมพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดประชาชน
๓.     ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
ภาษาทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สภาพแวดล้อม สังคมแต่ละชาติในภาษานั้น ๆ ภาษาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย จะได้ใช้เฉพาะช่วงเวลาหนึ่งแล้วค่อย ๆ หมดความสำคัญลง และไม่อาจสื่อความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเรียกว่า ภาษาตาย ถ้าเป็นภาษาที่มีตัวเขียนก็คงจะอยู่แต่ในหนังสือ เรียกว่าภาษาเขียน ซึ่งไม่นิยมพูดในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาบาลี และ สันสกฤต
การเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุดังนี้
๑.    การพูดจาในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพูดจาในชีวิตประจำวันอาจทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปใน ๒ ลักษณะ คือ
  -การกลมกลืนเสียง เป็นการผสมผสานเสียงของคำหน้ากับคำหลัง เช่น อย่างนี้ เป็น ยังงี้
ทำไร เป็น ทำไม
                  -การกร่อนเสียง เป็นการกร่อนเสียงของคำหน้าเพื่อให้พยางหน้าออกเสียงสั้นลง เช่น อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง ต้นไคร้ เป็น ตะไคร้
                 ๒อิทธิพลของภาษาอื่น การเปลี่ยนแปลงแปลงที่เกิดจากอิทธิพลของภาษามี ๒ ลักษณะ คือ
                 -การยืมคำ เป็นการนำคำในภาษาอื่นมาใช้ โดยอาจดัดแปลงเสียงให้เข้ากับระบบเสียง ในภาษาไทย เช่น กาแฟ ยืมมาจาก coffee (ค็อฟฟี่) ในภาษาอังกฤษ
                  กำเดา ยืมมาจาก กํเฎา (ก็อมเดา) ในภาษาเขมร
                  -การเลียนเสียงสำนวนและประโยค เดิมภาษาไทยเลียนสำนวนและประโยคภาษาอังกฤษบาลีสกฤตแต่ปัจจุบันนินมรียนสำนวน และประโยคของภาษาอังกฤษ เช่น
          การเลียนเสียงประโยคของบาลีสันสกฤต
              ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข
              สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
          การเลียนสำนวนและแบบประโยคของภาษาอังกฤษ
              เขามาสาย          เขามาช้า
              ในอนาคตอันใกล้         ในไม่ช้า
          ๓. การเลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้จำจำเป็นต้องมีคำเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ทางด่วน เครื่องปรับอากาศ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน คอนโดมิเนียม ส่วนสิ่งใดที่เลิกใช้ไปแล้ว คำที่เคยใช้ก็เลิกใช้ตามไปด้วย เช่นคำว่า จับเขม่า ในสมัยก่อนหมายถึง ทาผมดำด้วยเขม่าผสมน้ำมันตานีปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้น้ำยาย้อมผมแทน คำว่า จับเขม่า จึงเลกใช้ไป
          ๔. การเลียนภาษาของเด็ก ภาษาของเด็กอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่ไปบ้างในด้านเสียงและความหมาย เมื่อเด็กใช้ภาษาผิดและสืบทอดภาษาต่อกันมา ก็ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไป เช่นคำว่า หนูเคย
ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวของเด็ก ในปัจจุบันมักใช้สรรพนามของผู้น้อยที่พูดกับผู้ใหญ่ หรือ บางครั้งผู้ใหญ่ก็มักใช้ตามเด็ก เช่น สามีภรรยามักเรียกกันว่า พ่อ แม่ ตามลูก
          .ภาษามีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างและเหมือนกัน
ภาษาแต่ละภาษาย่อมมีลักษณะบางอย่าที่ต่างกันและเหมือนกันดังนี้
ลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน สิ่งที่ภาษาแต่ละภาษามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดมี ๓ ประการ คือ
(หลักการใช้ภาษาไทยหน้า ๕)
         
๑. คำทับศัพท์
          คำทับศัพท์ เป็นวิธียืมคำจากภาษาต่างประเทศมารใช้ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับคำที่ต้องการสื่อสาร
          หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน คือ การถอดอักษรในภาษาเดิมเช่นภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ โดยแต่ละภาษามีการวางหลักเกณฑ์การทับศัพท์แตกต่างกันตามลักษณะภาษานั้นเพื่อให้เขียนและอ่านคำในภาษานั้นๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือว่าเป็นคำไทยซึ่งปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้คงใช้ตามเดิม เช่น การ์ด(card)กาแฟ(coffee)โน้ต(note)เค้ก(cake)เทนนิส(tannis)คอมพิวเตอร์(computer)ช็อป(shop)ฯลฯ
          ผลดีของการใช้คำทับศัพท์ คือเป็นวิธีการใช้บัญญัติศัพท์ที่ค่อนข้างง่ายและสะดวกรวดเร็ว
          ผลเสียของการใช้คำทับศัพท์ คือ อาจทำให้ภาษาไทยของเราสูญเสียเอกลักษณ์ทางภาษาไทยไป
๒. คำศัพท์บัญญัติ
          ศัพท์บัญญัติ หมายถึง คำศัพท์ภาษาไทยที่คิดขึ้นใช้แทนภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาบาลีและสันสกฤต แล้วผ่านการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญทางภาษาจากนั้นจึงประการใช้ หากศัพท์บัญญัติคำใดมีผู้ยอมรับก็มีการใช้ศัพท์เหล่านั้นต่อมาเช่น
          -จินตนาการ (imagination) ใช้คำบาลี จินตนาการ (บ.จินฺตน=ความคิด+บ.อาการ=ความเป็นอยู่ ความเป็นไป สภาพ)=การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ เป็นศัพท์บัญญัติที่มีความหมายเป็นนามธรรมและที่ท้างคำมี-ionเป็นหน่วยเติมท้าย

          - บุคลิกภาพ()ใช้คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต บุคลิกภาพ (บ.ปุคฺคลิก=จำเพาะ คน+บ.ส. ภาว=ความเป็น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น