วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

การใช้คำราชาศัพท์


การใช้คำราชาศัพท์

            คำว่า ราชาศัพท์” มีความหมายว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหนับพระราชา ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ แต่โดยทั่วไป หมายถึง คำสุภาพที่ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะหรือสถานภาพของบุคคลต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (พระราชา) พระราชวงศ์ ข้าราชการ พระภิกษุและสุภาพชนทั่วไป
1. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า กำหนดการ
1.1 “หมายรับสั่งใช้กับพระราชพิธีภายใน เป็นหมายสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการผู้สั่งคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2 “หมายกำหนดการ” ใช้กับงานพระราชพิธี ที่มีเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงาน โดยอ้างถึงพระบรมราชโองการ คือ ขึ้นต้นข้อความว่า นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า...” เจ้าหน้าที่จะต้องส่งหมายกำหนดการเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
1.3 “กำหนดการ” ใช้กับงานทั่วไปที่พระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ ราชการหรือเอกชนจัดขึ้น หมายถึง รายการต่างๆที่กำหนดไว้ในงานหรือพิธี โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา
* ข้อสังเกต หากงานใดเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้เป็นงานพระราชพิธีซึ่งกำหนดขึ้นโดยพระบรมราชโองการ ให้ใช้ว่า กำหนดการ” เช่น กำหนดการสวนสนามแสดงความสวามิภักดิ์ เป็นต้น เพราะเป็นงานที่ทางราชการจัดขึ้น
2. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า คำพูดหรือพูด
2.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเป็นงานราชการเรื่องสำคัญ ใช้ว่า พระราชดำรัส” หรือ พระราชกระแส” ถ้าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไม่ใช่ราชการ ใช้ว่า รับสั่ง” หรือ ตรัส
2.2 เจ้านายชั้นพระบรมราชวงศ์ ใช้ว่า รับสั่ง” “ตรัส” “ดำรัส
3. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า คำสั่ง
3.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
3.2 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า มีพระราชเสาวนีย์เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
3.3 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ใช้ว่า มีพระราชบัณฑูรเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
3.4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า มีพระราชบัญชาเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
4. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า ช่วยเหลือ
4.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์” เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.2 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า พระบรมชินูปถัมภ์
5. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า เป็น ,มี
5.1 “มี” ใช้นำหน้าคำที่คำกริยาราชาศัพท์ เช่น มีพระบรมราชโองการ มีพระราชเสาวนีย์
5.2 “ทรงมี” ใช้นำหน้าคำที่เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น ทรงมีกล้องถ่ายรูป ทรงมีแสตมป์
5.3 “เป็น” ใช้นำหน้าคำที่เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา
5.4 “ทรงเป็นใช้นำหน้าคำนามสามัญ เช่น ทรงเป็นครู ทรงเป็นนักปราชญ์
6. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า วันเกิด
6.1 “วันพระราชสมภพ” หมายถึง วันเกิด ในรัชกาลปัจจุบัน คือ วันจันทร์ ธันวาคม พุทธศักราช 2470
6.2 “วันคล้ายวันพระราชสมภพ” หมายถึง คล้ายวันเกิด เป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
6.3 “วันเฉลิมพระชนมพรรษา” หมายถึง วันฉลองวันเกิด เป็นวันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมฉลองในมหามงคลสมัยคล้าย วันพระบรมราชสมภพ” ที่เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง
7. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า เดิน หรือ เดินทาง
7.1 “เสด็จพระราชดำเนิน” ใช้เฉพาะกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เช่น เสด็จพระราชดำเนินไป
7.2 “เสด็จ” ใช้นำหน้าคำกริยา เช่น เสด็จเข้า เสด็จขึ้น เสด็จประพาส เสด็จตรวจพล
* ข้อสังเกต คำว่า เสด็จพระดำเนิน” ไม่มีใช้ในราชาศัพท์ มีแต่ คำว่า ทรงพระดำเนิน” แปลว่า เดิน
* ข้อสังเกต คำว่า เสด็จ” อาจใช้เป็นบุรุษสรรพนาม หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น รับเสด็จ
8. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า อายุ
8.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า พระชนมพรรษา.....พรรษา
8.2 สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระสังฆราช ใช้ว่า พระชนมายุ.....พรรษา
8.3 พระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ใช้ว่า พระชันษา.............ปี
9. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า โอกาส
9.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช่ว่า พระบรมราชวโรกาส
9.2 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า พระราชวโรกาส
* ข้อสังเกต ราชาศัพท์จะใช้เพียง 2 กรณี
1) ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส” หรือ ขอพระราชทานพระวโรกาส” หมายความว่า ขอโอกาส
2) พระราชทานพระบรมราชวโรกาส” หรือ พระราชทานพระราชวโรกาส” หมายความว่า ให้โอกาส
ปัญหาการใช้คำราชาศัพท์ผิดพลาดมีหลายประการ
1) การเข้าใจผิดว่า ถ้าเป็นคำกริยาราชาศัพท์ต้องมีคำว่า ทรง” นำหน้า ทำให้ใช้กันอย่างผิดๆว่า ทรงเสด็จ ทรงตรัส ทรงเสวย ทรงพระราชทาน ฯลฯ ถ้านักเรียนใช้ความคิดไตร่ตรองก็จะพบว่า เสด็จ ประชวร ตรัส เสวย พระราชทาน ฯลฯ เป็นคำกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ทรง” นำหน้าแต่ประการใด
2.) คำว่า ทรง” ควรใช้เติมลงข้างหน้าคำกริยาสามัญ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงยินดี ทรงวิ่ง ทรงหมั้น ทรงทราบ นอกจากนี้ อาจใช้เติมลงข้างหน้าคำนาม ทั้งคำนามสามัญ และคำนามราชาศัพท์ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรง + ดนตรี(นามสามัญ) เป็น ทรงดนตรี(กริยาราชาศัพท์) หมายถึง เล่นดนตรี(กลายเป็นคำกริยา แสดงกริยาการเล่น) ,ทรง + ช้าง (นามสามัญ) หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเติมทรงเป็น ทรงช้าง(กริยาราชาศัพท์) หมายถึง ขี่ช้าง
3) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำกริยาราชาศัพท์บางคำที่สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ โดยการเติมคำว่า พระข้างหน้า เช่น คำว่า ประชวร สรวล สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ว่า พระประชวร พระสรวล คำราชาศัพท์ลักษณะนี้ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เท่านั้น ถ้าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระสังฆราช พระองค์เจ้า จะต้องใช้ว่า ประชวร” “สรวล” โดยไม่ต้องเติมคำว่า ทรง” ข้างหน้า
1. การใช้คำพระบรม,พระบรมราชพระราช,พระ,หลวง,ต้น,ต้น
1.1 “พระบรม” หรือ พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เช่น พระบรมมหาราชวัง พระปรมาภิไธย พระบรมเดชานุภาพ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราชโองการ พระบรมราโชวาท พระบรมวงศานุวงศ์
1.2 “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีเป็นสิ่งสำคัญรองลงมาจากพระบรม เช่น พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชหฤทัย พระราชพาหนะ พระราชหัตถเลขา
1.3 “พระ” นำหน้าคำสามัญที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เพื่อให้แตกต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้ พระที่นั่ง พระตำหนัก พระแสง พระบาท พระหัตถ์ พระเจ้า พระนาสิก พระชะตา แต่ก็มีบางคำที่ไม่ใช้ พระ ประกอบหน้า เช่น ฉลองพระบาท ฉลองพระองค์ ธารพระกร บ้วนพระโอษฐ์ แปรงชำระพระทนต์ ฉลองพระเนตร ฉลองพระหัตถ์ รถพระที่นั่ง จานเสวย โต๊ะทรงพระอักษร
1.4 หลวง ต้น ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง หลานหลวง เรือหลวง ม้าหลวง ช้างหลวง เครื่องต้น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น เรือต้น *(คำต่อไปนี้ไม่ใช่คำราชาศัพท์ ทางหลวง เมียหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง)
1.5 คำขยายความ คำราชาศัพท์บางคำมีความหมายใกล้เคียงกันควรมีความรู้เรื่องความหมายให้ถูกต้อง พระราชดำรัสหรือพระราชกระแส – คำพูด พระบรมราชโองการ – คำสั่ง พระบรมราโชวาท – คำสอน พระราชปฏิสันถาร – คำทักทาย การทักทาย พระราชปุจฉา – คำถาม
2. พระบรมนามาภิไธย พระปรมาภิไธย หมายถึงพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ ภ.ป.ร.
3. พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์
พระบรมราชูปถัมภ์” ใช้กรณีการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลหรือช่วยค้ำจุนองค์กร สถาบัน สมาคม สโมสร หรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
ส่วน พระบรมราชานุเคราะห์” ใช้ในกรณีที่ทรงช่วยเหลือ อนุเคราะห์บุคคลด้วยพระเมตตากรุณา เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้รับนายนิลเพชร กำจาย เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเมืองเพชรรัตน์ โดยให้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
* ถ้าเป็นพระบรม (พระบรม = สมเด็จพระบรมราชชนนี,สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ใช้ พระราชานุเคราะห์ ถ้าพระราชวงศ์ทั่วไป ใช้ พระอนุเคราะห์
4. พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์
4.1 พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมรูป คือ รูปถ่ายหรือภาพถ่ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2 พระฉายาลักษณ์หรือพระรูป คือรูปถ่ายหรือภาพถ่ายของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์ทั่วไป
4.3 พระบรมสาทิสลักษณ์ คือ รูปเขียนหรือภาพเขียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.4 พระสาทิสลักษณ์ คือรูปเขียนของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป
5. พระที่นั่ง หมายถึง เรือนหรือาคารของพระเจ้าแผ่นดิน เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หรือหมายถึงอาคารโถงที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสสำคัญ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ณ ท้องสนามหลวง หรือหมายถึง ที่สำหรับนั่ง เช่น แท่นพระเก้าอี้ เฉพาะที่เป็นองค์สำคัญและมีชื่อเฉพาะของแต่ละองค์ เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมาน ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เครื่องรองนั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งเจียม หมายถึง พรมรองนั่ง พระที่นั่งเก้าอี้ แปลว่า เก้าอี้ หรือเมื่อใช้เป็นคำประกอบ รถ เรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่นๆ เช่น รถพระที่นั่ง เรื่อพระที่นั่ง เครื่องบินพระที่นั่ง
* เมื่อใช้ หน้าพระที่นั่ง หรือ หน้าที่นั่ง เป็นคำขยายคำกริยา จะแปลว่า เฉาะพระพักตร์ หรือต่อหน้า เช่น ขบวนแถวเคลื่อนข้ามหน้าพระที่นั่ง มีการแสดงดนตรีหน้าพระที่นั่ง จัดการแสดงหน้าที่นั่ง
6. อาคันตุกะ พระราชอาคันตุกะ อาคันตุกะ หมายถึงแขกผู้มาเยือน ให้สังเกต เจ้าบ้าน” เป็นหลัก ถ้าเจ้าบ้านเป็นพระราชาพระมหากษัตริย์ ใช้ พระราชอาคันตุกะ ถ้าเจ้าบ้านไม่ใช่พระราชา พระมหากษัตริย์ ใช้ อาคันตุกะ
7. พระชนมพรรษา พระชนมายุ คือขวบปีที่เกิด อายุ
7.1 พระชนมพรรษา ใช้สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เช่น ในปีพุทธศักราช 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา
7.2 พระชนมายุ ใช้สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น ในปีพุทธศักราช 2550 80 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระชนมายุ 52 พรรษา
7.3 พระชันษา ใช้สำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์ทั่วไป เช่น พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ มีพระชันษาครบ 1 ปี
8. วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพระบรมราชสมภพ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา คือ วันที่มีการบำเพ็ญพระราชกุศลและมีการเฉลิมฉลองในมหามงคลสมัยที่คล้ายวันพระราชสมภพเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง (วันพระบรมราชสมภพ คือ วันเกิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470)
9. พระราชพิธี รัฐพิธี
พระราชพิธี หมายถึง งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดไว้เป็นประจำตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ทั้งนี้ ในระหว่างปีอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีต่างๆในโอกาสที่สำคัญเพิ่มจากพระราชพิธีประจำปี เช่นพระราชพิธีรัชดาภิเษก พระราชพิธีพิธีรัชมังคลาภิเษก พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
รัฐพิธี หมายถึง งานที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาให้ทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน เช่น รัฐพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญ รัฐพิธีเสด็จพรระราชดำเนินเปิดประชุมรัฐสภา
10. หมายกำหนดการ กำหนดการ
10.1 หมายกำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีและรัฐพิธี
10.2 กำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานโดยทั่วไปที่ทางราชการหรือเอกชนจัดทำขึ้นเองแม้ว่างานนั้นๆจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องถึงเบื้องพระยุคลบาท
11. ทรง
11.1 ใช้ ทรง นำหน้าคำกริยาธรรมดา เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงยินดี ทรงขอบใจ ทรงวางพวงมาลา ทรงฟัง ทรงชุบเลี้ยง ทรงวิ่ง (ทรง+กริยา=กริยาราชาศัพท์)
11.2 ใช้ ทรง นำหน้าคำนามสามัญ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงบาตร (ตักบาตร) ทรงรถ(ขับรถ) ทรงเทนนิส(เล่นเทนนิส) ทรงธรรม(ฟังเทศน์) ทรงศีล(รับศีล) (ทรง+คำนามสามัญ=กริยาราชาศัพท์)
11.3 ใช้ ทรง นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ ทรงพระอักษร(อ่าน เขียน) ทรงพระราชวิจารณ์(ให้ความเห็น) ทรงพระราชดำริ(คิด) (ทรง+คำนามราชาศัพท์=กริยาราชาศัพท์) * ไม่ใช้ทรงนำหน้าคำที่เป็นราชาศัพท์ เช่น บรรทม โปรด เสวย ตรัส สรง ทอดพระเนตร พระราชทาน ประทับ ประทาน ประชวร กริ้ว เสด็จ ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
11.4 ไม่ใช้ทรงนำหน้าคำว่า มี และ เป็น ที่ประกอบอยู่หน้าคำราชาศัพท์บางคำ เช่น มีพระราชบัญชา มีพระราชเสาวนีย์ มีรับสั่ง มีพระราชดำรัส มีพระราชดำริ มีพระมหากรุณา โดยจะใช้ทรงนำหน้า มี และ เป็น ได้ต่อเมื่อใช้นำหน้าคำธรรมดา เช่น ทรงมีวิทยุคมนาคม ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงเป็นประธาน
12. เสด็จ เสด็จพระราชดำเนิน
ใช้เป็นคำนามแทนพระองค์ พระราชโอรส พระราชธิดาชั้นพระองค์เจ้า ซึ่งใช้กันในภาษาพูด เช่น เสด็จกรมขุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบหน้าคำกริยาแท้ ซึ่งเป็นกริยาหลักบ่งบอกเนื้อความ เช่น เสด็จออก เสด็จขึ้น เสด็จประพาส เสด็จพระราชสมภพ และใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพ เสด็จนิวัติพระนคร แปลว่า เดินทางกลับจากการพักแรมเข้าสู่กรุงเทพฯ
13. เฝ้าฯ หมายถึง เข้าพบ เช่น มีพสกนิกรเฝ้าฯรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างเนืองแน่น มีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อย่างเนืองแน่น
14. การใช้ทูลเกล้าฯถวาย และน้อมเกล้าฯถวาย
14.1 ถ้าเป็นสิ่งของที่สามารถยกได้ เช่น เอกสาร หนังสือ ใช้ ทูลเกล้าฯถวาย(อ่านทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย)

14.2 เป็นสิ่งของที่ไม่สามารถยกได้ เช่น บ้าน รถ อาคาร ใช้ น้อมเกล้าฯถวาย(อ่านน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น