วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

การศึกษาเรื่องคำสมาส

               

     คำสมาส

                คำสมาส คือ การสร้างคำใหม่ในภาษาบาลีสันสกฤต เช่นเดียวกับคำประสมในภาษาไทย เกิดจากการนำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมกันเป็นคำเดียวกันให้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน คำที่เกิดจากการสร้างคำวิธีนี้เรียกว่า คำสมาส แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
     ๑. คำสมาสที่ไม่มีการกลมกลืนเสียง เรียกว่า คำสมาส
     ๒. คำสมาสที่มีการกลมกลืนลักษณะเสียง เรียกว่า คำสมาสที่มีการสนธิ
การสมาสคำ
        เป็นการสร้างคำขึ้นเพื่อเพิ่มคำใหม่ประเภทหนึ่ง  เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการสื่อสาร  โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน  คำที่นำมารวมกันนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต เรียกว่า คำสมาสคำสมาสจะเป็นคำที่มีความหมายใหม่ คำที่มีความหมายหลักมักจะอยู่ข้างหลัง  คำที่ช่วยขยายความหมายจะอยู่ข้างหน้า  ดังนั้นการแปลคำสมาสจึงมักจะแปลจากคำหลังมาหาคำหน้า เช่น
 มหา (ยิ่งใหญ่)  +  ชาติ (การเกิด)   เท่ากับ   มหาชาติ  หมายถึง    การเกิดครั้งยิ่งใหญ่
 วีร (กล้าหาญ)  +  บุรุษ (ชาย)       เท่ากับ   วีรบุรุษ    หมายถึง   ชายผู้กล้าหาญ
 อุทก (น้ำ)       +  ภัย (อันตราย)    เท่ากับ   อุทกภัย   หมายถึง   ภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
        คำสมาส (อ่านว่า สะ หมาด) คือ การนำคำภาษาบาลีและ/หรือสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเป็นคำเดียว มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน โดยคำหลักมักอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า
การสร้างคำสมาส
         คำสมาสในภาษาไทยมีวิธีการสร้างคำ ดังนี้
         การนำเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาต่อกัน  อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับภาษาสันสกฤตก็ได้  เมื่อแปลคำสมาสจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า
ตัวอย่าง
     ถาวร (มั่นคง, ยั่งยืน) + วัตถุ (สิ่งของ) (บาลี + บาลี) = ถาวรวัตถุ
     อ่านว่า           ถา วอน วัด ถุ
     หมายถึง         สิ่งของที่ก่อสร้างที่มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร
        หลักการสังเกตคำสมาส
   ๑. คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ กิจการ(บาลีสมาสกับบาลี) อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ (สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต)  วิทยาเขต วัฒนธรรม (บาลีสมาสกับสันสกฤต)
   ๒. คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน  เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน
   ๓. ไม่มีการประวิสรรชนีย์ ( ะ ) และ ไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยสัมพันธ์ พลศึกษา
ข้อสังเกต
         การสร้างคำวิธีนี้เป็นการนำคำมาเรียงต่อกัน และในการอ่านมักอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน  แต่มีบางคำไม่อ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำ หรือบางคำจะอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำหรือไม่ก็ได้ เช่น
          เกียรติคุณ     อ่านว่า    เกียด ติ คุน      หมายถึง      คุณที่เลื่องลือ
         มีคำในภาษาไทยหลายคำที่มีการประกอบคำคล้ายคำสมาส คือ นำศัพท์มาเรียงต่อกันและสามารถอ่านออกเสียง สระ อะ อิ อุ เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่ไม่ใช่คำสมาส  เพราะไม่ใช่คำรวมของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และมีภาษาอื่นปะปน เช่น
      คุณ + ค่า       (บาลี + ไทย)                     อ่านว่า   คุน นะ ค่า, คุน ค่า
      ชีว + เคมี       (สันสกฤต + อังกฤษ)             อ่านว่า    ชี วะ เค มี
      เทพ + เจ้า      (บาลี + ไทย)                     อ่านว่า    เทบ พะ เจ้า
      ทุน + ทรัพย์    (ไทย + สันสกฤต)                อ่านว่า    ทุน นะ ซับ
      เมรุ + มาศ      (บาลี + เขมร)                    อ่านว่า    เม รุ มาด
      บรรจุ + ภัณฑ์  (เขมร + บาลีสันสกฤต)          อ่านว่า    บัน จุ พัน

ลักษณะของคำสมาส
     ๑. คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น อาจจะเป็นบาลีสมาสกับบาลี เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต เช่น อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ บาลีสมาสกับสันสกฤต เช่น วิทยาเขต วัฒนธรรม
     ๒. คำสมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำหน้า เช่น ศิลปกรรม ธุรการ สัมฤทธิ์บัตร วารดิถี 
     ๓. คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) +
ภูมิ (แผ่นดิน / สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ)
     ๔. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม /
โลก + บาล = โลกบาล
     ๕. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู มิ สาด /
เกตุมาลา อ่านว่า เก ตุ มา ลา

        ตัวอย่างคำสมาส
        ธุรกิจ วรพงศ์  เกษตรกรรม  ครุศาสตร์ ชีววิทยา มหกรรม มหาภัย กรรมกร  สันติภาพ  มหานคร   กิจกรรม  กรรมกร  ขัณฑสีมา  คหกรรม  เอกภพ  กาฬทวีป  สุนทรพจน์  จีรกาล บุปผชาติ  ประถมศึกษา ราชทัณฑ์ มหาราช  ฉันทลักษณ์  พุทธธรรม วรรณคดี วิทยาธร วัฏสงสาร สารัตถศึกษา  พัสดุภัณฑ์  เวชกรรม  
เวทมนตร์  มรรคนายก  อัคคีภัย อุดมคติเอกชน  ทวิบาท  ไตรทวาร  ศิลปกรรม  ภูมิศาสตร์  รัฐศาสตร์  
กาฬพักตร์  ราชโอรส  ราชอุบาย บุตรทารก  ทาสกรรมกร  พระหัตถ์พระชงฆ์  พระพุทธ ราชโอรส ราชอุบาย บุตรทารก ทาสกรรมกร  พระหัตถ์ พระชงฆ์  พระพุทธ  พระปฤษฏางค์  วิทยาศาสตร์  กายภาพ  กายกรรม อุทกภัย วรพงศ์  เกษตรกรรม  ครุศาสตร์  ชีววิทยา  มหกรรม  อัฏฐางคิกมรรค  มหาภัย
        อุบัติเหตุ  กรรมกร สันติภาพ  มหานครจตุปัจจัย  ฯลฯ

           สรุป

        คำสมาส คือ การนำเอาคำภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมเข้าด้วยกัน ให้เป็นคำๆเดียวกัน และความหมายเกี่ยวเนื่องกัน
                จากประโยชน์ของคำสมาสที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการที่เรานำคำสมาสมาใช้
ก็เป็นความเจริญทางด้านภาษาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราต้องการใช้คำให้สละสลวย ก็จะสร้างคำขึ้นใหม่เพื่อให้พอใช้กับความต้องการทางด้านภาษาของแต่ละประเทศ
        และคำสมาสก็ยังเป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ ประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ และกลอน เพื่อให้เข้าตามลักษณะบังคับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆด้วย
        อีกอย่างหนึ่ง การที่เราศึกษาเรื่องคำสมาสนี้ก็เพื่อให้เรานำไปใช้ได้อย่างถูกต้องคือ  อ่านได้ถูกต้อง คือ อ่านต่อเนื่องกัน และเขียนได้ถูกต้อง คือ เขียนถูกต้องตามหลักคำสมาสที่อ่านและออกเสียงสระอะโดยไม่ต้องประวิสรรชนีย์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น