วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

อักษรไทยสมัยสุโขทัย


อักษรไทยสมัยสุโขทัย

             ภาษาเขียนของคนไทยเกิดขึ้นหลังจากที่คนไทยสร้างเมืองของตนเองขึ้นแล้ว คือ สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของเมืองสุโขทัย
             เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี ที่แล้วมา เมืองสุโขทัยของคนไทยนับว่า เป็นเมืองใหม่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านั้นชนชาติอื่นๆ รอบด้าน มีการรวมตัวกันเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว และที่เป็นเมืองแล้ว ต่างก็มีภาษาเขียนเป็นของตนเองทั้งสิ้น เมืองเขมร เมืองมอญ เมืองพม่า ล้วนมีภาษาเขียนของตนเองก่อนคนไทย ในยุคนั้น และก่อนหน้านั้น เท่าที่ปรากฏในอินเดีย ลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจารึกเรื่องของการปกครองเมือง ศาสนา และประชาชน นับเป็นประเพณีนิยมของกษัตริย์ทั่วไป เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นปกครองเมือง เมื่อมีการทำสงคราม การทำบุญครั้งใหญ่ หรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นในเมือง ก็เป็นประเพณีของกษัตริย์ที่จะทรงบันทึกเรื่องราวไว้ในอินเดีย และลังกา มีการเก็บบันทึกจารึกต่าง ๆ ทั้งของวัดและกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนแสน ประเพณีการจารึกเรื่องราวนี้ ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย และในย่านนี้จารึกโบราณมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤต และต่อมาก็มีจารึกเป็นภาษาของคนพื้นเมืองด้วย คนไทยคงจะใช้ตัวอักษรอื่น ที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในย่านนั้นมาก่อน ซึ่งมีทั้งอักษรมอญ และขอม แต่เมื่อคนไทยมีเมืองเป็นของตนเอง มีกษัตริย์ไทยเองแล้ว แรงผลักดันที่จะต้องมีตัวอักษรของตนเอง เพื่อบันทึกเรื่องราวของกษัตริย์ และเมืองตามประเพณีอยู่ในขณะนั้น ก็ย่อมเกิดขึ้น การใช้ภาษาของไทยเองย่อมจะทำให้เมืองไทยมีฐานะเท่าเทียมกับเมืองอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เราอาจนับว่า การเป็นเมือง และประเพณีการจารึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
              ตัวอักษรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากลายสือไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีที่แล้ว เข้าใจว่า คงจะได้เปรียบเทียบ หรือปรับปรุงจากตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตัวหนังสือในปัจจุบันแตกต่างไปจากสมัยสุโขทัยมาก แต่ระบบของตัวพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ยังคงเดิม
              อักษรไทยมีใช้มานานประมาณ ๗๐๐ ปีแล้ว จึงเป็นธรรมดาที่จะมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาในปัจจุบัน ทั้งในด้านการเขียน และการแทนเสียง และเพราะเหตุว่า ตัวเขียนไทยเป็นตัวอักษรแทนเสียง ระบบภาษาเขียนจึงเป็นเสมือนบันทึกของลักษณะเสียงของภาษาไทย เมื่อสมัยประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้วได้เป็นอย่างดี นักภาษาศาสตร์สามารถใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ อธิบายให้เห็นว่า เสียงของภาษาในสมัยสุโขทัย ต่างไปจากเสียงในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์

พยัญชนะ

               แม้ว่าอักษรไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งถือกันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นการจารึกอักษรไทยครั้งแรกนั้น ได้ใช้พยัญชนะไม่ครบทั้ง ๔๔ ตัว คือ มีเพียง ๓๙ ตัว ขาดตัว ฌ ฑ ฒ ฬ และ ฮ ไม่ครบชุดพยัญชนะเหมือนที่ใช้สอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนในปัจจุบัน แต่เราก็อาจสันนิษฐานว่า ระบบภาษาเขียน ในขณะนั้นมี จำนวนพยัญชนะ เท่ากับในปัจจุบัน ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
ประการแรก
              จารึกหลักที่ ๒ และจารึกยุคต่อๆ มาใช้ตัวอักษรอีก ๔ ตัว ที่ไม่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ และถึงแม้เราจะไม่พบตัวอักษร "ฮ" ในศิลาจารึกในยุคต่อๆ มา ก็เป็นที่เชื่อได้ว่า "ฮ" มีอยู่แล้วในระบบ
ประการที่ ๒
             คือ ภาษาเขียนนั้นประดิษฐ์ขึ้นเป็นระบบ ให้มีอักษรสูงทุกตัวคู่กับอักษรต่ำ "ฮ" มีขึ้น เพื่อคู่กับ "ห"
ประการที่ ๓
             คือ "ฮ" เป็นอักษรที่มีที่ใช้น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับอักษรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำในภาษาสมัยโบราณ แม้ในขณะที่เขียนเรื่องภาษาอยู่นี้ ถ้าเราไม่กล่าวถึงตัว "ฮ" โอกาสที่เราจะใช้คำที่เขียนด้วยตัว "ฮ" แทบจะไม่มีเลย และเพราะเหตุนี้จึงไม่น่าที่จะมีการคิดเพิ่มอักษร "ฮ" ขึ้นภายหลัง เพราะไม่มีความจำเป็นในการใช้
            ในบรรดาตัวอักษร ๔๔ ตัวที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีอยู่ ๒ ตัวที่เราเลิกใช้ไปแล้ว คือ ฃ (ขอขวด) และ ฅ (คอคน) ที่เราเลิกใช้ไปโดยปริยาย ก็เพราะเสียง ๒ เสียงนี้ เปลี่ยนไปแล้ว กลายเป็นเสียงเดียวกับ ข และ ค ตามลำดับ ในภาษาไทยกลางเมื่อเราออกเสียง "ฃ" เป็น "ข" ก็เป็นธรรมดาที่เราจะไม่ทราบว่า คำโบราณใดบ้างที่เคยออกเป็นเสียง "ฃ" เวลาเขียนเราจึงไม่สามารถเลือกใช้ได้ถูก ซึ่งทำให้เราเลิกใช้ไปในที่สุด แต่ทั้งเสียง "ฃ" และ "ข" นี้ ยังมีใช้อยู่ในภาษาไทถิ่นอื่น คือ ในภาษาไทขาว ในเวียดนาม และตัวเขียนสำหรับ ๒ เสียงนี้ ก็ต่างกันด้วยในภาษาไทขาว
             เสียง "ข" และ "ฃ" เป็นเสียงที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยสมัยสุโขทัยศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จึงได้มีการคิดอักษรแทนเสียง ๒ เสียงนี้ขึ้นในขณะนั้น และในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ใช้คำที่เขียนด้วยทั้ง "ข" และ "ฃ" หลายครั้งอย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ คำใดที่เขียนด้วย "ฃ" เมื่อใช้ซ้ำอีกก็ใช้ "ฃ" ดังเดิม เช่น คำว่า ฃุน ฃึ้น และเฃา และการใช้อักษร ๒ ตัวนี้ก็ไม่ปะปนกันเหมือนในจารึก หรือการเขียนอื่นๆ ที่สำคัญมีนักภาษาศาสตร์นำคำที่ใช้เขียนด้วย "ข" และ "ฃ" ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทถิ่นอื่นๆ เช่น ไทขาวก็พบว่า เป็นคำที่ใช้เสียงประเภทเดียวกัน และแยกเสียง "ข" และ "ฃ" เหมือนกัน เพราะคำเหล่านี้เป็นคำที่เป็นมรดกตกทอดมาจากภาษาไทโบราณเก่าแก่ ตั้งแต่ยังไม่มีอักษรเกิดขึ้น ภาษาไทถิ่นต่างๆ ยังใช้คำเหล่านี้อยู่ แต่ว่าเสียงที่ใช้ในคำเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในหลายถิ่น อันที่จริงเราสามารถเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยยุคหลังศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวคือ การใช้ "ข" และ "ฃ" เริ่มไม่สม่ำเสมอ คำๆ เดียวกันบางครั้งก็เขียนด้วย "ข" บางครั้งก็เขียนด้วย "ฃ" แสดงว่า ผู้เขียน หรือผู้จารึกเริ่มแยกเสียง ๒ เสียงนี้ไม่ออก เสียงทั้งสองอาจเริ่มฟังเหมือนกัน เราต้องไม่ลืมว่า ในสมัยสุโขทัยไม่มีโรงเรียนสอนภาษา หรือพจนานุกรม ที่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้อ้างอิงได้ แต่การเขียนแทนเสียงต้องมาจากการฟังและได้ยินเสียงที่ต่างกัน จึงจะเขียนด้วยอักษรที่ต่างกัน แม้สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่แสดงว่า เสียง "ฃ" ได้หายไปแล้วโดยสิ้นเชิง แต่ยังมีผู้ใช้ "ฃ" เพราะว่า เป็นตัวอักษรที่มีอยู่ กล่าวคือ คำหนึ่งๆ ใช้เขียนได้ทั้ง ๒ แบบ และที่ใช้ "ฃ" เขียนนั้น บางคำก็มาจากภาษาเขมร บางคำก็มาจากภาษาบาลี
            ตัวอย่างการใช้อักษร ๒ ตัวนี้ปะปนกัน แสดงว่า เสียงได้เปลี่ยนไปแล้ว ผู้เขียนยุคหลังศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ไม่มีความรู้ว่า คำใดเคยเขียนด้วย "ฃ" จึงเขียนไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ใช้ภาษาไทยยุคอื่นไม่มีทางทราบได้ และไม่มีหลักยึดว่า คำใดควรเขียนด้วย "ข" หรือ  แต่ในยุคของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เสียงทั้ง ๒ นี้ยังต่างกันอยู่ ผู้จารึกจึงเขียนได้ และคำเหล่านี้ เมื่อนักภาษาสมัยใหม่ตรวจสอบกับคำภาษาไทถิ่นอื่น ตามหลักการทางภาษาศาสตร์ ก็ปรากฏว่า "ฃ" เป็นคำที่ใช้เสียง "ข" และ "ฃ" มาก่อนจริง ตัวอักษร "ฃ" จึงใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีขึ้นก่อนที่เสียง "ฃ" จะเปลี่ยนแปลงไปในสมัย สุโขทัยยุคต่อมา สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์
โดยสรุปในแง่ของพยัญชนะที่ประดิษฐ์ขึ้น ในสมัยสุโขทัยก็คือ มีจำนวน ๔๔ ตัวอักษร เท่าที่ปรากฏในสมัยปัจจุบัน แต่การเขียนตัวอักษรได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
สระ
           การเขียนสระในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ต่างจากการเขียนสระในสมัยปัจจุบันมาก ทั้งรูปร่างสระ และวิธีการเขียน กล่าวคือ สระเขียนอยู่ในบรรทัดเช่นเดียวกับพยัญชนะ แต่ในสมัยสุโขทัยยุคต่อมา ได้กลับไปเขียนแบบให้มีสระอยู่รอบๆ พยัญชนะ คือ มีทั้งที่เขียนข้างหน้าข้างบน ข้างหลัง และข้างล่าง พยัญชนะที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนนี้คงให้เหมือนกับระบบภาษาเขียนอื่น ที่คนไทยสมัยนั้นใช้อยู่ก่อน และมีความเคยชินด้วย นอกจากเรื่องตำแหน่งแล้ว วิธีเขียนสระก็ต่างไปคือ สระอัว ในหลักที่ ๑ ใช้ วว ในคำที่ไม่มีเสียงสะกด เช่น หวว "หัว" ตว "ตัว" ถ้ามีตัวสะกดก็ใช้ "ว" ตัวเดียว เช่นเดียวกับในปัจจุบัน เช่น สวน แสดงว่ายังไม่มีการใช้ไม้หันอากาศ เพราะเสียง "ะ" ในคำที่มีตัวสะกดก็ใช้พยัญชนะสะกดซ้ำ ๒ ตัว เช่น มนน "มัน" แต่ในสมัยสุโขทัยยุคต่อมา ก็มีการใช้ไม้หันอากาศ ส่วนสระเอียใช้เขียนเป็น "ย" เช่น วยง "เวียง" สยง "เสียง" โดยภาพรวมแล้ว สระที่มีการเขียนเป็นตัวอักษรแทนเสียง มีจำนวนเท่ากับสระในปัจจุบัน

วรรณยุกต์

             รูปวรรณยุกต์ที่ใช้เขียนกำกับในยุคสุโขทัย มีเพียง ๒ รูป คือ ไม้เอก และไม้โท แต่ไม้โทใช้เป็นเครื่องหมายกากบาทแทน สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับรูปวรรณยุกต์คือ ไม่ใช่ตัวอักษรแทนเสียง ในทำนองเดียวกับตัวพยัญชนะและสระ เพราะไม้เอกไม่ได้กำกับเฉพาะคำที่มีเสียงเอกเท่านั้น ในทำนองเดียวกันไม้โทก็ไม่ได้กำกับเสียงโทเท่านั้น แต่เสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนไปตามลักษณะพยัญชนะ ต้นของคำ คือ ไม้เอก บอกเสียงเอกในคำที่ขึ้นต้น ด้วยอักษรสูงและกลาง แต่บอกเสียงโทในคำที่ขึ้น ต้นด้วยอักษรต่ำ และไม้โท บอกเสียงโทในคำที่ มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงและกลาง แต่บอก เสียงตรีในคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำแสดงว่า รูปวรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงหนึ่งเสียงใดโดยเฉพาะ แต่ใช้บอกความต่างกันของเสียงเท่านั้น ซึ่งน่าจะหมายความว่า รูปวรรณยุกต์แบบนี้สร้างขึ้น เพื่อให้ใช้ผันเสียงวรรณยุกต์กับอักษรสูง กลาง ต่ำ ใช้ แสดงความแตกต่างกัน และจะใช้กับเสียงวรรณยุกต์ในถิ่นใดก็ได้ และคงเป็นเพราะรูปวรรณยุกต์ มิได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์ใดวรรณยุกต์หนึ่งนี้เอง ที่ทำให้จารึกในยุคหลังๆ ไม่ใช้วรรณยุกต์กำกับ เลยก็มี


อักขระวิธีของลายสือไทย
          การวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะต้น โดยวางไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะ (ไม่มีสระวางบนและล่างตัวพยัญชนะ) ซึ่งมีอักขรวิธีต่างกับอักษรไทยสมัยอื่นๆ และอักษรของเพื่อนบ้าน คือ อักษรของ อักษรมอญ รวมทั้งอักษรล้านนา และอักษรตัวธรรมของอีสาน จึงถูกกล่าวหาว่าลายสือไทยนั้นวางสระพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ ไม่เหมือนกับอักษรต้นแบบและอักษรเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่พัฒนามาจากอักษรอินเดียใต้ ที่เรียกว่า อักษรปัลลวะ หรือ อักษรคฤนถ์ นักวิชาการหัวก้าวหน้าจึงสรุปว่า ลายสือไทยมีอักขรวิธีเหมือนอักษรฝรั่งที่ปัญญาชนไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ เพิ่งจะพบเห็น 
          ฉะนั้นจะอยากจะอธิบายตัวอักษรและอักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ถูกกล่าวหาว่ามีอักขรวิธีพิสดาร ผ่าเหล่าผ่ากอ โดยเฉพาะวางสระไว้บนบรรทัดเดียวกับพยัญชนะซึ่งเป็นข้อพิรุธฉกรรจ์ที่สุดของศิลาจารึกหลักที่ ๑ และเป็นหลักฐานที่จะโน้มน้าวให้คนทั่วไปเชื่อเถือว่า เป็นอักษรไทยที่ผิดแบบแผน ที่วางสระต่างกับอักษรสมัยพระเจ้าลิไทและอักษรต้นแบบอื่นๆ ซึ่งมีอักขรวิธีแนวเดียวกัน คือวางสระไว้รอบพยัญชนะตันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง แต่อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงกลับวางสระไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้นบรรทัดเดียวกัน คือ เหมือนอักษร ฝรั่ง หรือ อักษรโรมัน 
          เรื่องอักขรวิธีของลายสือไทยที่ไม่ตรงกับอักษรต้นแบบคือ อักษรมอญ โบราญและขอมโบราณนั้น ความเป็นจริงแล้วถ้าเราศึกษาระบบอักขรวิธีอักษรต้นแบบทั้งสองจะพบว่ามีรูปสระ ๒ ชนิด และมีระบบการใช้แตกต่างกันคือ สระจม (รูปร่างและวิธีใช้เหมือนสระไทยปัจจุบัน และสมัยพระเจ้าลิไท) และสระลอย (ใช้ระบบเดียวกับสระพ่อขุนรามคำแหง) ซึ่งอาจจะอธิบายว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงเลือกใช้สระลอยแบบเดียว และนำมาใช้เป็นสระจมด้วยจึงต้องวางไว้บนบรรทัด เดียวกันกับพยัญชนะตามอักษรต้นแบบ ดังจะอธิบายต่อไปนี้ โดยใช้อักษรขอมเป็นตัวอย่าง และเลือกเฉพาะสระที่เป็นปัญหา 
          ๑. สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงมี ๒๐ ตัว วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะ ดังนี้
              ๑.๑ วางสระอยู่หน้าพยัญชนะ ๑๐ ตัว คือ อิ อี อึ อื อุ อู เอ แอ โ ใ ไ 
              ๑.๒ วางสระไว้หลังพยัญชนะ ๕ ตัว คือ อะ อา อำ อัว ออ 
              ๑.๓ วางสระไว้หน้าส่วนหนึ่ง และหลังส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น รูปประสมของสระในข้อที่ ๑ และ ๒ จำนวน ๕ คือ (แอะ) (เอีย) (เอือ) (เออ) (เอา)

          หากพิจารณารูปสัณฐานแล้ว พบว่ามีแปลกปลอมกว่าสระไทย (สมัยพระยาลิไท และปัจจุบัน) เพียง ๕ รูป ที่เป็นตัวปัญหา ซึ่งสระทั้ง ๕ รูป อักขรวิธีไทยปัจจุบัน วางสระไว้บนพยัญชนะ ๓ รูป (อิ อี อึ/อื) และวางไว้ล่างพยัญชนะ ๒ รูป คือ อุ อู
          สระทั้ง ๕ รูปนี้ ในอักษรขอมและมอญจะมีรูปสระจมและสระลอย สระจมจะวางไว้บนและล่าง พยัญชนะ บนบรรทัดเดียวกัน ฉะนั้นพ่อขุนรามคำแหงได้ปรับเปลี่ยน รูปสระทั้ง ๕ ตัว ให้สามารถวางไว้บนบรรทัด ดังตารางที่ ๒ 

ตารางที่ ๒
          ฉะนั้นจะเห็นว่าสระที่มีปัญหาเพียง ๕ รูปนั้น พ่อ ขุนรามคำแหงนำมาไว้หน้าพยัญชนะเหมือนกับสระลอยเขมร (สระมอญ มีสระจม และสระลอย เช่นเดียวกับเขมร) เท่านั้น (หากรวมกับรูปสระประสมอีก ๒ รูป คือ เอีย และ เอือ เป็น ๗ รูป) อื่นๆ นั้นตรงกับสระสมัยพระยาลิไทและสระไทยปัจจุบัน
          ในกรณีนี้อาจจะสรุปได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปสระเพียง ๕ รูป (รวมกับสระประสมอีก ๒ รูป รวมเป็น ๗ รูป) โดยยึดแบบแผนจากสระลอยของเขมรและอักษรมอญ แต่เราดูเหมือนว่าแตกต่างไปมาก เพราะเหตุว่าภาษาไทยมีเสียงสระ ๕ รูป และสระประสมกับ อี อื  จำนวนมาก จึงดูว่าสระของเราวางไว้บน-ล่าง จำนวนมาก หากเราพิจารณาจำนวนแล้ว สระไทยปัจจุบันวางไว้หน้าพยัญชนะต้นจำนวนมากเช่นเดียวกัน 
          ฉะนั้นหากนักวิชาการไทยได้ศึกษาด้านอักษร (อักขรวิทยา) กันอย่างจริงจัง จะพบว่าตัวอักษรมีการคลี่คลายรูปสัณฐานไปทุกยุคทุกสมัย และเข้าใจที่มาของอักษรพ่อขุนรามคำแหง (ลายสือไทย) จะไม่เห็นว่าอักขรวิธีของลายสือไทยพิสดารแต่อย่างใด
สระสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ตกค้างอยู่ในอักขรวิธีสมัยพระยาลิไท
          จากการศึกษาศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท และจารึกสมัยสุโขทัยที่สร้างสมัยหลังๆ พบว่าได้มีอักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงปะปนอยู่จำนวนหนึ่ง (หลายหลัก หลายแหล่ง) แสดงว่านักปราชญ์สมัยหลังพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงยังใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามคำแหงจนเคยชิน 
เมื่อพบคำที่ไม่ค่อยจะใช้ บ่อยนักโดยเฉพาะคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ มักจะเขียนด้วยสระสมัยพ่อขุนรามคำแหง แสดงให้เห็นว่านักปราชญ์เหล่านั้นเคยใช้อักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว  หากอักขรวิธีแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงไม่เคยใช้กันมาก่อน ปัญญาชนไทยสมัยพระยาลิไทจะเขียนหนังสือผิดพลาดโดยใช้รูปสระของลายสือไทยได้ถูกต้องทุกแห่งอย่างไร นั่นคืออักขรวิธีสมัยพ่อขุนรามคำแหงเคยใช้ก่อนสมัยพระลิไท ตัวอย่างเช่น

จารึกหลักที่ ๒
- ผู้หนึ่งชื่อท้าวอีจาน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘)
                              (อีจาน)
- พ่อขุนบางกลางหาวได้ชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมืองเอาชื่อตนให้แก่พระสหาย (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๔)
                              (อินทรบดินทราทิตย์) 
- พ่อขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์เพื่อพ่อขุนผาเมือง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที ๓๕)
                              (อินทรบดินทราทิตย์) 
- สรรพญเดญาณอิงใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗)
                              (อิง)
- เป็นต้นว่า คนอีกแพะแลหมูหมาเป็ดไก่ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๖)
                              (อีก)
- แบกอิด (อิฐ) แต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระ(ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๔๑)
                              (อิด)

จารึกหลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) 
- ธรรมชาดกอันอื่นใส้ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๘)
                              (อันอื่น)
- จักมาพึ่งมาอิง (ด้านที่๒ บรรทัดที่ ๔๑)
                              (อิง)

จารึกหลักที่ ๘ (เขาสุมนกูฏ)
- สาธุการบุชาอีกดุริยพาทย์พิณ  (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๙)
                              (อีก)

จารึกหลักที่ ๖๒ (วัดพระยืน-พระสุมนเถระ)

- มีอินทรีย์อันสานต์ (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๕)
                              (อินทรีย์)
- อีกทั้ง (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)
                              (อีกทั้ง)
- จึงให้เชิญฝูงมหาเถร (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕)
                              (เชิญ) ฯลฯ 

การใช้คำราชาศัพท์


การใช้คำราชาศัพท์

            คำว่า ราชาศัพท์” มีความหมายว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหนับพระราชา ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ แต่โดยทั่วไป หมายถึง คำสุภาพที่ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะหรือสถานภาพของบุคคลต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (พระราชา) พระราชวงศ์ ข้าราชการ พระภิกษุและสุภาพชนทั่วไป
1. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า กำหนดการ
1.1 “หมายรับสั่งใช้กับพระราชพิธีภายใน เป็นหมายสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการผู้สั่งคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2 “หมายกำหนดการ” ใช้กับงานพระราชพิธี ที่มีเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงาน โดยอ้างถึงพระบรมราชโองการ คือ ขึ้นต้นข้อความว่า นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า...” เจ้าหน้าที่จะต้องส่งหมายกำหนดการเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
1.3 “กำหนดการ” ใช้กับงานทั่วไปที่พระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ ราชการหรือเอกชนจัดขึ้น หมายถึง รายการต่างๆที่กำหนดไว้ในงานหรือพิธี โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา
* ข้อสังเกต หากงานใดเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้เป็นงานพระราชพิธีซึ่งกำหนดขึ้นโดยพระบรมราชโองการ ให้ใช้ว่า กำหนดการ” เช่น กำหนดการสวนสนามแสดงความสวามิภักดิ์ เป็นต้น เพราะเป็นงานที่ทางราชการจัดขึ้น
2. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า คำพูดหรือพูด
2.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเป็นงานราชการเรื่องสำคัญ ใช้ว่า พระราชดำรัส” หรือ พระราชกระแส” ถ้าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไม่ใช่ราชการ ใช้ว่า รับสั่ง” หรือ ตรัส
2.2 เจ้านายชั้นพระบรมราชวงศ์ ใช้ว่า รับสั่ง” “ตรัส” “ดำรัส
3. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า คำสั่ง
3.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
3.2 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า มีพระราชเสาวนีย์เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
3.3 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ใช้ว่า มีพระราชบัณฑูรเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
3.4 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า มีพระราชบัญชาเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งว่า
4. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า ช่วยเหลือ
4.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์” เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.2 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า พระบรมชินูปถัมภ์
5. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า เป็น ,มี
5.1 “มี” ใช้นำหน้าคำที่คำกริยาราชาศัพท์ เช่น มีพระบรมราชโองการ มีพระราชเสาวนีย์
5.2 “ทรงมี” ใช้นำหน้าคำที่เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น ทรงมีกล้องถ่ายรูป ทรงมีแสตมป์
5.3 “เป็น” ใช้นำหน้าคำที่เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา
5.4 “ทรงเป็นใช้นำหน้าคำนามสามัญ เช่น ทรงเป็นครู ทรงเป็นนักปราชญ์
6. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า วันเกิด
6.1 “วันพระราชสมภพ” หมายถึง วันเกิด ในรัชกาลปัจจุบัน คือ วันจันทร์ ธันวาคม พุทธศักราช 2470
6.2 “วันคล้ายวันพระราชสมภพ” หมายถึง คล้ายวันเกิด เป็นวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
6.3 “วันเฉลิมพระชนมพรรษา” หมายถึง วันฉลองวันเกิด เป็นวันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมฉลองในมหามงคลสมัยคล้าย วันพระบรมราชสมภพ” ที่เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง
7. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า เดิน หรือ เดินทาง
7.1 “เสด็จพระราชดำเนิน” ใช้เฉพาะกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เช่น เสด็จพระราชดำเนินไป
7.2 “เสด็จ” ใช้นำหน้าคำกริยา เช่น เสด็จเข้า เสด็จขึ้น เสด็จประพาส เสด็จตรวจพล
* ข้อสังเกต คำว่า เสด็จพระดำเนิน” ไม่มีใช้ในราชาศัพท์ มีแต่ คำว่า ทรงพระดำเนิน” แปลว่า เดิน
* ข้อสังเกต คำว่า เสด็จ” อาจใช้เป็นบุรุษสรรพนาม หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น รับเสด็จ
8. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า อายุ
8.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า พระชนมพรรษา.....พรรษา
8.2 สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระสังฆราช ใช้ว่า พระชนมายุ.....พรรษา
8.3 พระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ใช้ว่า พระชันษา.............ปี
9. คำราชาศัพท์ที่มีความหมายว่า โอกาส
9.1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช่ว่า พระบรมราชวโรกาส
9.2 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า พระราชวโรกาส
* ข้อสังเกต ราชาศัพท์จะใช้เพียง 2 กรณี
1) ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส” หรือ ขอพระราชทานพระวโรกาส” หมายความว่า ขอโอกาส
2) พระราชทานพระบรมราชวโรกาส” หรือ พระราชทานพระราชวโรกาส” หมายความว่า ให้โอกาส
ปัญหาการใช้คำราชาศัพท์ผิดพลาดมีหลายประการ
1) การเข้าใจผิดว่า ถ้าเป็นคำกริยาราชาศัพท์ต้องมีคำว่า ทรง” นำหน้า ทำให้ใช้กันอย่างผิดๆว่า ทรงเสด็จ ทรงตรัส ทรงเสวย ทรงพระราชทาน ฯลฯ ถ้านักเรียนใช้ความคิดไตร่ตรองก็จะพบว่า เสด็จ ประชวร ตรัส เสวย พระราชทาน ฯลฯ เป็นคำกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ทรง” นำหน้าแต่ประการใด
2.) คำว่า ทรง” ควรใช้เติมลงข้างหน้าคำกริยาสามัญ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงยินดี ทรงวิ่ง ทรงหมั้น ทรงทราบ นอกจากนี้ อาจใช้เติมลงข้างหน้าคำนาม ทั้งคำนามสามัญ และคำนามราชาศัพท์ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรง + ดนตรี(นามสามัญ) เป็น ทรงดนตรี(กริยาราชาศัพท์) หมายถึง เล่นดนตรี(กลายเป็นคำกริยา แสดงกริยาการเล่น) ,ทรง + ช้าง (นามสามัญ) หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเติมทรงเป็น ทรงช้าง(กริยาราชาศัพท์) หมายถึง ขี่ช้าง
3) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำกริยาราชาศัพท์บางคำที่สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ โดยการเติมคำว่า พระข้างหน้า เช่น คำว่า ประชวร สรวล สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ว่า พระประชวร พระสรวล คำราชาศัพท์ลักษณะนี้ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เท่านั้น ถ้าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระสังฆราช พระองค์เจ้า จะต้องใช้ว่า ประชวร” “สรวล” โดยไม่ต้องเติมคำว่า ทรง” ข้างหน้า
1. การใช้คำพระบรม,พระบรมราชพระราช,พระ,หลวง,ต้น,ต้น
1.1 “พระบรม” หรือ พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เช่น พระบรมมหาราชวัง พระปรมาภิไธย พระบรมเดชานุภาพ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราชโองการ พระบรมราโชวาท พระบรมวงศานุวงศ์
1.2 “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีเป็นสิ่งสำคัญรองลงมาจากพระบรม เช่น พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชหฤทัย พระราชพาหนะ พระราชหัตถเลขา
1.3 “พระ” นำหน้าคำสามัญที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เพื่อให้แตกต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้ พระที่นั่ง พระตำหนัก พระแสง พระบาท พระหัตถ์ พระเจ้า พระนาสิก พระชะตา แต่ก็มีบางคำที่ไม่ใช้ พระ ประกอบหน้า เช่น ฉลองพระบาท ฉลองพระองค์ ธารพระกร บ้วนพระโอษฐ์ แปรงชำระพระทนต์ ฉลองพระเนตร ฉลองพระหัตถ์ รถพระที่นั่ง จานเสวย โต๊ะทรงพระอักษร
1.4 หลวง ต้น ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง หลานหลวง เรือหลวง ม้าหลวง ช้างหลวง เครื่องต้น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น เรือต้น *(คำต่อไปนี้ไม่ใช่คำราชาศัพท์ ทางหลวง เมียหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง)
1.5 คำขยายความ คำราชาศัพท์บางคำมีความหมายใกล้เคียงกันควรมีความรู้เรื่องความหมายให้ถูกต้อง พระราชดำรัสหรือพระราชกระแส – คำพูด พระบรมราชโองการ – คำสั่ง พระบรมราโชวาท – คำสอน พระราชปฏิสันถาร – คำทักทาย การทักทาย พระราชปุจฉา – คำถาม
2. พระบรมนามาภิไธย พระปรมาภิไธย หมายถึงพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ ภ.ป.ร.
3. พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์
พระบรมราชูปถัมภ์” ใช้กรณีการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลหรือช่วยค้ำจุนองค์กร สถาบัน สมาคม สโมสร หรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
ส่วน พระบรมราชานุเคราะห์” ใช้ในกรณีที่ทรงช่วยเหลือ อนุเคราะห์บุคคลด้วยพระเมตตากรุณา เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้รับนายนิลเพชร กำจาย เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเมืองเพชรรัตน์ โดยให้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
* ถ้าเป็นพระบรม (พระบรม = สมเด็จพระบรมราชชนนี,สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ใช้ พระราชานุเคราะห์ ถ้าพระราชวงศ์ทั่วไป ใช้ พระอนุเคราะห์
4. พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์
4.1 พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมรูป คือ รูปถ่ายหรือภาพถ่ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2 พระฉายาลักษณ์หรือพระรูป คือรูปถ่ายหรือภาพถ่ายของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์ทั่วไป
4.3 พระบรมสาทิสลักษณ์ คือ รูปเขียนหรือภาพเขียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.4 พระสาทิสลักษณ์ คือรูปเขียนของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป
5. พระที่นั่ง หมายถึง เรือนหรือาคารของพระเจ้าแผ่นดิน เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หรือหมายถึงอาคารโถงที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสสำคัญ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ณ ท้องสนามหลวง หรือหมายถึง ที่สำหรับนั่ง เช่น แท่นพระเก้าอี้ เฉพาะที่เป็นองค์สำคัญและมีชื่อเฉพาะของแต่ละองค์ เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาพิมาน ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เครื่องรองนั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งเจียม หมายถึง พรมรองนั่ง พระที่นั่งเก้าอี้ แปลว่า เก้าอี้ หรือเมื่อใช้เป็นคำประกอบ รถ เรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่นๆ เช่น รถพระที่นั่ง เรื่อพระที่นั่ง เครื่องบินพระที่นั่ง
* เมื่อใช้ หน้าพระที่นั่ง หรือ หน้าที่นั่ง เป็นคำขยายคำกริยา จะแปลว่า เฉาะพระพักตร์ หรือต่อหน้า เช่น ขบวนแถวเคลื่อนข้ามหน้าพระที่นั่ง มีการแสดงดนตรีหน้าพระที่นั่ง จัดการแสดงหน้าที่นั่ง
6. อาคันตุกะ พระราชอาคันตุกะ อาคันตุกะ หมายถึงแขกผู้มาเยือน ให้สังเกต เจ้าบ้าน” เป็นหลัก ถ้าเจ้าบ้านเป็นพระราชาพระมหากษัตริย์ ใช้ พระราชอาคันตุกะ ถ้าเจ้าบ้านไม่ใช่พระราชา พระมหากษัตริย์ ใช้ อาคันตุกะ
7. พระชนมพรรษา พระชนมายุ คือขวบปีที่เกิด อายุ
7.1 พระชนมพรรษา ใช้สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เช่น ในปีพุทธศักราช 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา
7.2 พระชนมายุ ใช้สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น ในปีพุทธศักราช 2550 80 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระชนมายุ 52 พรรษา
7.3 พระชันษา ใช้สำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์ทั่วไป เช่น พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ มีพระชันษาครบ 1 ปี
8. วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพระบรมราชสมภพ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา คือ วันที่มีการบำเพ็ญพระราชกุศลและมีการเฉลิมฉลองในมหามงคลสมัยที่คล้ายวันพระราชสมภพเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง (วันพระบรมราชสมภพ คือ วันเกิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470)
9. พระราชพิธี รัฐพิธี
พระราชพิธี หมายถึง งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดไว้เป็นประจำตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ทั้งนี้ ในระหว่างปีอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีต่างๆในโอกาสที่สำคัญเพิ่มจากพระราชพิธีประจำปี เช่นพระราชพิธีรัชดาภิเษก พระราชพิธีพิธีรัชมังคลาภิเษก พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
รัฐพิธี หมายถึง งานที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาให้ทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน เช่น รัฐพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญ รัฐพิธีเสด็จพรระราชดำเนินเปิดประชุมรัฐสภา
10. หมายกำหนดการ กำหนดการ
10.1 หมายกำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีและรัฐพิธี
10.2 กำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานโดยทั่วไปที่ทางราชการหรือเอกชนจัดทำขึ้นเองแม้ว่างานนั้นๆจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องถึงเบื้องพระยุคลบาท
11. ทรง
11.1 ใช้ ทรง นำหน้าคำกริยาธรรมดา เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงยินดี ทรงขอบใจ ทรงวางพวงมาลา ทรงฟัง ทรงชุบเลี้ยง ทรงวิ่ง (ทรง+กริยา=กริยาราชาศัพท์)
11.2 ใช้ ทรง นำหน้าคำนามสามัญ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงบาตร (ตักบาตร) ทรงรถ(ขับรถ) ทรงเทนนิส(เล่นเทนนิส) ทรงธรรม(ฟังเทศน์) ทรงศีล(รับศีล) (ทรง+คำนามสามัญ=กริยาราชาศัพท์)
11.3 ใช้ ทรง นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกริยาราชาศัพท์ ทรงพระอักษร(อ่าน เขียน) ทรงพระราชวิจารณ์(ให้ความเห็น) ทรงพระราชดำริ(คิด) (ทรง+คำนามราชาศัพท์=กริยาราชาศัพท์) * ไม่ใช้ทรงนำหน้าคำที่เป็นราชาศัพท์ เช่น บรรทม โปรด เสวย ตรัส สรง ทอดพระเนตร พระราชทาน ประทับ ประทาน ประชวร กริ้ว เสด็จ ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
11.4 ไม่ใช้ทรงนำหน้าคำว่า มี และ เป็น ที่ประกอบอยู่หน้าคำราชาศัพท์บางคำ เช่น มีพระราชบัญชา มีพระราชเสาวนีย์ มีรับสั่ง มีพระราชดำรัส มีพระราชดำริ มีพระมหากรุณา โดยจะใช้ทรงนำหน้า มี และ เป็น ได้ต่อเมื่อใช้นำหน้าคำธรรมดา เช่น ทรงมีวิทยุคมนาคม ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงเป็นประธาน
12. เสด็จ เสด็จพระราชดำเนิน
ใช้เป็นคำนามแทนพระองค์ พระราชโอรส พระราชธิดาชั้นพระองค์เจ้า ซึ่งใช้กันในภาษาพูด เช่น เสด็จกรมขุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบหน้าคำกริยาแท้ ซึ่งเป็นกริยาหลักบ่งบอกเนื้อความ เช่น เสด็จออก เสด็จขึ้น เสด็จประพาส เสด็จพระราชสมภพ และใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพ เสด็จนิวัติพระนคร แปลว่า เดินทางกลับจากการพักแรมเข้าสู่กรุงเทพฯ
13. เฝ้าฯ หมายถึง เข้าพบ เช่น มีพสกนิกรเฝ้าฯรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างเนืองแน่น มีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อย่างเนืองแน่น
14. การใช้ทูลเกล้าฯถวาย และน้อมเกล้าฯถวาย
14.1 ถ้าเป็นสิ่งของที่สามารถยกได้ เช่น เอกสาร หนังสือ ใช้ ทูลเกล้าฯถวาย(อ่านทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย)

14.2 เป็นสิ่งของที่ไม่สามารถยกได้ เช่น บ้าน รถ อาคาร ใช้ น้อมเกล้าฯถวาย(อ่านน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย)

หลักการใช้ภาษาไทย


หลักการใช้ภาษาไทย

ความหมายของภาษา
          ภาษา เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่ใช้ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการให้ผู้อื่นทราบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด ถ้อยคำ กิริยาท่าทาง หรือ สัญญาลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
.ภาษาที่เป็นถ้อยคำ หรือ วัจนภาษา คือภาษาที่ใช้เสียงพูดหรือตัวอักษรเป็นสื่อโดยตกลงกันว่าจะใช้แทนความคิด สิ่งของ การกระทำต่างๆ ที่มนุษย์สามารถรับรู้ และเข้าใจความหมายตรงกัน
๒.ภาษาไม่ใช้ถ้อยคำ หรือ อวัจนภาษา คือภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากเสียงพูดและตัวอักษร ได้แก่ภาษาท่าทาง หรือกิริยาอาการต่างๆโดยไม่ต้องพูดหรือเขียน เช่น โบกมือกำมือชูนิ้ว ส่ายศีรษะ การแสดงสีหน้า รวมถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สื่อความเข้าใจตรงกัน เช่นภาพ เครื่องหมาย สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง สัญญาณแตร สัญญาณมือ ภาษามือ ภาษาใบ้ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาดนตรี
          ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมากเพราะภาษาไม่ใช่เฉพาะเครื่องมือในการสื่อความเข้าใจของคนในสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลในการเรียนรู้ การพัฒนาความคิด การประกอบอาชีพ การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความเชื่อ คติธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง และยังเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย
          ตามหลักภาษาศาสตร์ ความหมายของภาษาจะมุ่งเฉพาะเสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อความหมายระหว่างกันและรวมถึงภาษาเขียน ซึ่งถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือจากเสียงพูดเท่านั้น ส่วนการสื่อความเข้าใจอื่น ๆ เช่นการแสดงกริยาอาการการใช้เครื่องหมายหรือสัญญาณ การสื่อสารระหว่างสัตว์ แม้กระทั้งเสียงของสัตว์ที่เลียนเสียงพูดของมนุษย์ เช่น เสียงนกแก้ว นกขุนทอง ถึงแม้จะเรียกว่าภาษาก็ไม่จัดเป็นภาษาตามหลักภาษาศาสตร์     เกร็ดความรู้ การสื่อสารไม่ได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นสัตว์ก็มีการสื่อสารเช่นเดียวกัน แต่ไม่เป็นระบบและไม่ได้พัฒนาละเอียดซับซ้อนเหมือนมนุษย์ สัตว์บางจำพวกอาจสื่อความเข้าใจระหว่างกันด้วยการเปล่งเสียงร้อง เสียงขัน เสียงกู่ และแสดงกริยาอาการต่าง ๆ เช่น ผงกหัว กระดิกหาง ตะกุยเท้า ส่งกลิ่น
ธรรมชาติของภาษา
          ภาษาแต่ละภาษาแม้จะมีเสียงของคำและโครงสร้างของประโยคแตกต่างกันไป แต่มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ที่สำคัญมีดังนี้
๑.     การใช้เสียงสื่อความหมาย
เสียงในภาษาไทยประกอบด้วยเสียง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
เสียงที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้งอาจจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ การคใช้เสียงในการสื่อความหมายจึงมี ๒ ลักษณะ คือ
          ๑.๑ เสียงที่มีความสำพันธ์กับความหมาย ภาษาแต่ละภาษามีเสียงที่สำพันธ์กับความหมาย ซึ่งเป็นเสียงที่สามารถคาดเดาความหมายได้ มักเป็นเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เลียนเสียงร้อง หรือ เสียงดังที่เกิดจากสิ่ง ๆ นั้น เช่น แมว ตุ๊กแก รถตุ๊กๆ กา
          ๑.๒ เสียงที่ไม่สัมพันธ์กับความหมาย เป็นเสียงที่ไม่สามารถคาดเดาความหมายได้ เช่น บ้าน ในภาษาไทย ตรงกับคำว่า เฮ้าส์ (house) หรือ โฮม (home) ในภาษาอังกฤษ เมซอง (miason) ในภาษาฝรังเศส อุจิ ในภาษาญี่ปุ่น เคห ในภาษาบาลี คำดังกล่าว ในแต่ละภาษาต่างมีความหมายอย่างเดียวกันแต่ออกเสียงต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะใดแสดงความเกี่ยวข้องกัน จึงกล่าวได้ว่าการที่เสียงหรือคำใดมีความหมายอย่างไรเป็นเรื่องของการตกลงกันของคนในสังคมแต่ละกลุ่มที่จะกำหนดขึ้น
          ๒.  ภาษาประกอบกันด้วยหน่วยเล็กซึ่งประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น
          ภาษามีส่วนประกอบเริ่มจากเสียง เสียงประกอบกันเป็นคำ คำประกอบกันเป็นกลุ่มคำหรือประโยค และประโยคประกอบเข้าด้วยกันเป็น ข้อความหรือเรื่องราว ทั้งหมดนี้เรียกว่าหน่วย หน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาเรียกว่าหน่วยเสียง
          เสียงในภาษาส่วนมากมี ๒ ชนิด คือ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ สำหรับภาษาไทยมี ๓ ชนิด คือ มีเสียงวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นมาด้วย หากใช้เสียงที่มีอยู่ในภาษาไทยมาประกอบกันเป็นคำกล่าวคือ เสียงพยัญชนะ ๒๑ หน่วยเสียง สระ ๒๑ หน่วยเสียง และวรรณยุกต์ ๕ เสียง ก็จะได้เป็นคำจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาที่มีความหมายว่า หน่วยคำ
          เราสามารถนำคำมาเรียงต่อกันเป็นข้อความ เป็นประโยค และนำประโยคมาเรียงต่อกันโดยการรวมหรือซ้อนกัน ซึ่งทำให้เกิดประโยคหรือข้อความยาว ๆ โดยไม่สิ้นสุด
ตัวอย่าง
          ฉันพบเพื่อน
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้วไปรับประทานอาหาร
          ฉันพบเพื่อนและถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้วไปรับประทานอาหาร ต่อจากนั้นไปชมพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดประชาชน
๓.     ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
ภาษาทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สภาพแวดล้อม สังคมแต่ละชาติในภาษานั้น ๆ ภาษาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย จะได้ใช้เฉพาะช่วงเวลาหนึ่งแล้วค่อย ๆ หมดความสำคัญลง และไม่อาจสื่อความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเรียกว่า ภาษาตาย ถ้าเป็นภาษาที่มีตัวเขียนก็คงจะอยู่แต่ในหนังสือ เรียกว่าภาษาเขียน ซึ่งไม่นิยมพูดในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาบาลี และ สันสกฤต
การเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุดังนี้
๑.    การพูดจาในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพูดจาในชีวิตประจำวันอาจทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปใน ๒ ลักษณะ คือ
  -การกลมกลืนเสียง เป็นการผสมผสานเสียงของคำหน้ากับคำหลัง เช่น อย่างนี้ เป็น ยังงี้
ทำไร เป็น ทำไม
                  -การกร่อนเสียง เป็นการกร่อนเสียงของคำหน้าเพื่อให้พยางหน้าออกเสียงสั้นลง เช่น อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง ต้นไคร้ เป็น ตะไคร้
                 ๒อิทธิพลของภาษาอื่น การเปลี่ยนแปลงแปลงที่เกิดจากอิทธิพลของภาษามี ๒ ลักษณะ คือ
                 -การยืมคำ เป็นการนำคำในภาษาอื่นมาใช้ โดยอาจดัดแปลงเสียงให้เข้ากับระบบเสียง ในภาษาไทย เช่น กาแฟ ยืมมาจาก coffee (ค็อฟฟี่) ในภาษาอังกฤษ
                  กำเดา ยืมมาจาก กํเฎา (ก็อมเดา) ในภาษาเขมร
                  -การเลียนเสียงสำนวนและประโยค เดิมภาษาไทยเลียนสำนวนและประโยคภาษาอังกฤษบาลีสกฤตแต่ปัจจุบันนินมรียนสำนวน และประโยคของภาษาอังกฤษ เช่น
          การเลียนเสียงประโยคของบาลีสันสกฤต
              ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข
              สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
          การเลียนสำนวนและแบบประโยคของภาษาอังกฤษ
              เขามาสาย          เขามาช้า
              ในอนาคตอันใกล้         ในไม่ช้า
          ๓. การเลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้จำจำเป็นต้องมีคำเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ทางด่วน เครื่องปรับอากาศ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน คอนโดมิเนียม ส่วนสิ่งใดที่เลิกใช้ไปแล้ว คำที่เคยใช้ก็เลิกใช้ตามไปด้วย เช่นคำว่า จับเขม่า ในสมัยก่อนหมายถึง ทาผมดำด้วยเขม่าผสมน้ำมันตานีปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้น้ำยาย้อมผมแทน คำว่า จับเขม่า จึงเลกใช้ไป
          ๔. การเลียนภาษาของเด็ก ภาษาของเด็กอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่ไปบ้างในด้านเสียงและความหมาย เมื่อเด็กใช้ภาษาผิดและสืบทอดภาษาต่อกันมา ก็ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไป เช่นคำว่า หนูเคย
ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวของเด็ก ในปัจจุบันมักใช้สรรพนามของผู้น้อยที่พูดกับผู้ใหญ่ หรือ บางครั้งผู้ใหญ่ก็มักใช้ตามเด็ก เช่น สามีภรรยามักเรียกกันว่า พ่อ แม่ ตามลูก
          .ภาษามีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างและเหมือนกัน
ภาษาแต่ละภาษาย่อมมีลักษณะบางอย่าที่ต่างกันและเหมือนกันดังนี้
ลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน สิ่งที่ภาษาแต่ละภาษามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดมี ๓ ประการ คือ
(หลักการใช้ภาษาไทยหน้า ๕)
         
๑. คำทับศัพท์
          คำทับศัพท์ เป็นวิธียืมคำจากภาษาต่างประเทศมารใช้ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับคำที่ต้องการสื่อสาร
          หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน คือ การถอดอักษรในภาษาเดิมเช่นภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ โดยแต่ละภาษามีการวางหลักเกณฑ์การทับศัพท์แตกต่างกันตามลักษณะภาษานั้นเพื่อให้เขียนและอ่านคำในภาษานั้นๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือว่าเป็นคำไทยซึ่งปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้คงใช้ตามเดิม เช่น การ์ด(card)กาแฟ(coffee)โน้ต(note)เค้ก(cake)เทนนิส(tannis)คอมพิวเตอร์(computer)ช็อป(shop)ฯลฯ
          ผลดีของการใช้คำทับศัพท์ คือเป็นวิธีการใช้บัญญัติศัพท์ที่ค่อนข้างง่ายและสะดวกรวดเร็ว
          ผลเสียของการใช้คำทับศัพท์ คือ อาจทำให้ภาษาไทยของเราสูญเสียเอกลักษณ์ทางภาษาไทยไป
๒. คำศัพท์บัญญัติ
          ศัพท์บัญญัติ หมายถึง คำศัพท์ภาษาไทยที่คิดขึ้นใช้แทนภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาบาลีและสันสกฤต แล้วผ่านการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญทางภาษาจากนั้นจึงประการใช้ หากศัพท์บัญญัติคำใดมีผู้ยอมรับก็มีการใช้ศัพท์เหล่านั้นต่อมาเช่น
          -จินตนาการ (imagination) ใช้คำบาลี จินตนาการ (บ.จินฺตน=ความคิด+บ.อาการ=ความเป็นอยู่ ความเป็นไป สภาพ)=การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ เป็นศัพท์บัญญัติที่มีความหมายเป็นนามธรรมและที่ท้างคำมี-ionเป็นหน่วยเติมท้าย

          - บุคลิกภาพ()ใช้คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต บุคลิกภาพ (บ.ปุคฺคลิก=จำเพาะ คน+บ.ส. ภาว=ความเป็น)